พาไปทำความรู้จัก “โรคผิวหนังอักเสบ” ที่ทุกคนก็มีโอกาสเป็นได้

พาไปทำความรู้จัก “โรคผิวหนังอักเสบ” ที่ทุกคนก็มีโอกาสเป็นได้

พาไปทำความรู้จัก “โรคผิวหนังอักเสบ” ที่ทุกคนก็มีโอกาสเป็นได้ ในปัจจุบันทุกคนทราบดีว่าประเทศของเรานั้นเจอกับปัญหามลพิษต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นควันจากรถบนท้องถนน ครัวจากโรงงาน หรือโดยเฉพาะฝุ่น pm 2.5 และประเทศไทยของเรายังเป็นเมืองร้อน จึงทำให้การใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ ของเราเต็มไปด้วยเหงื่อไคล ซึ่งบอกเลยว่าเหงื่อนี่แหละที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคผิวหนังอักเสบต่าง ๆ  และยิ่งบวกกับสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษในปัจจุบันด้วยแล้ว ยิ่งทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคผิวหนังกันได้ง่าย ดังนั้น วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับโรคนี้กันให้มากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลยค่ะ

1-เนื้อหา

โรคผิวหนังอักเสบ จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ

1. ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มใส (Dyshidrotic Eczema)

เป็นอีกโรคผิวหนังอักเสบที่พบได้บ่อย แต่เป็นโรคที่คนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจทางการแพทย์อยู่น้อยมาก โดยทั่วไปมักส่งผลต่อบริเวณมือ บางครั้งเกิดขึ้นที่เท้า ทำให้มีผื่นคันร่วมกับตุ่มใสพุพองเม็ดเล็ก ๆ ตามง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือ หรือฝ่าเท้า

2. โรคผื่นแดง (Erythemas)

 เป็นผื่นที่เกิดขึ้นตามผิวหนังบริเวณที่สัมผัสโดนสารก่อความระคายเคืองหรือสารก่อภูมิแพ้ เช่น สารเคมีในชีวิตประจำวัน ได้แก่ สบู่ ผงซักฟอก หรือน้ำยาซักล้างต่าง ๆ เป็นเวลานานและบ่อยครั้ง บางคนอาจเกิดจากการสัมผัสดอกไม้ พืชผักบางชนิด หรือสาเหตุอื่น ๆ เช่น ยางสังเคราะห์ โลหะ สีย้อมผม สารแต่งกลิ่นต่าง ๆ เป็นต้น โดยผื่นแดงที่เกิดขึ้นอาจทำให้รู้สึกแสบร้อน ปวดแสบ คัน หรือเกิดแผลพุพองได้

3. โรคเซบเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

เป็นโรคที่ทำให้ผิวหนังเป็นแผ่นตกสะเก็ดและมีอาการแดง หากเป็นที่ศีรษะจะเกิดเป็นรังแคเรื้อรัง โดยมักเป็นตามผิวหนังที่มีความมัน เช่น ใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณเปลือกตาและจมูก หน้าอกส่วนบน และหลัง ส่วนในทารกมักพบมีสะเก็ดหรือแผ่นหนา ๆ บนหนังศีรษะ รวมทั้งอาจพบได้ที่เปลือกตา ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ เป็นเวลานาน

4. โรคผื่นผิวหนังรูปเหรียญบาท (Nummular Eczema)

มักพบในผู้ที่มีผิวแห้งหรืออาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศแห้ง มักปรากฏเป็นแผ่นผิวหนังที่มีความหนาและแดง ลักษณะกลม ๆ คล้ายเหรียญบาท ร่วมกับอาการคัน ผิวเป็นขุยหรือมีสะเก็ดหนอง ซึ่งจะพบได้บ่อยตามขาส่วนล่าง รวมถึงตามแขน มือ ลำตัว

2-เนื้อหา

ความผิดปกติภายใน

หรืออาจกล่าวได้ว่า คือลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ป่วยที่เป็นปัจจัยพื้นฐานนั่นเอง ซึ่งผู้ป่วยแต่ละคนจะมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นจุดอ่อนหรือผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบิดามารดาไม่เหมือนกัน ความบกพร่องที่ได้มาจากบิดามารดานี้จะมีความแตกต่างกัน มีความผิดปกติมากบ้างหรือน้อยบ้างไม่เท่ากัน ทำให้ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้มีอาการและอาการแสดงปรากฏออกมาไม่เหมือนกันและมีความรุนแรงแตกต่างกันอย่างมาก ตั้งแต่เป็นน้อย ๆ เป็นตลอดเวลา เป็น ๆ หาย ๆ เป็นตั้งแต่เด็ก ๆ เริ่มมีอาการเมื่อเข้าช่วงวัยรุ่น บางรายมีอาการเมื่อเป็นผู้ใหญ่ โดยลักษณะอาการสำคัญที่พบในผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ คือ

  • ผิวหนังมีน้ำมันในชั้นหนังกำพร้า (Stratum corneum) น้อยกว่าคนปกติทั่ว ๆ ไป
  • มีอาการคันที่ผิวหนังได้ง่ายกว่าปกติ และมักเป็นมากตอนกลางคืน
  • เกิดผื่นแดงที่ผิวหนังง่าย
  • เป็นขุยลอกตามผิวหนัง

อาการ มี 2 แบบ ดังนี้

1.อาการแบบเฉียบพลัน เกิดการสัมผัสสารก่อระคายที่มีความเข้มข้นสูงทำให้มีอาการปวดแบบแสบร้อน รู้สึกระคายเคืองหรือคัน ผิวหนังบริเวณสัมผัสจะมีลักษณะแดงบวม มีขอบเขตชัดเจน  ถ้าเป็นมากจะมีตุ่มน้ำพองและอาจมีแผลเหมือนไฟลวก

2.อาการแบบเรื้อรัง เกิดจากการสัมผัสสารก่อระคายเคืองประจำ ประมาณ 2- 8 สัปดาห์ จะมีอาการคัน ตึงผิวหนังบริเวณสัมผัสจะมีลักษณะบวมแดง มีขอบเขตชัดเจน  ถ้าเป็นมากจะมีตุ่มน้ำพองและอาจมีแผลเหมือนไฟลวก

3-เนื้อหา

การวินิจฉัยหาสาเหตุโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้

การวินิจฉัยโรคนอกจากจะอาศัยประวัติอาการและอาการแสดงดังกล่าวมาแล้ว บางครั้งยังต้องอาศัยการถามประวัติในครอบครัวผู้ป่วยซึ่งมักพบว่า พี่น้อง บิดามารดา น้า อา ลุง ปู่ ย่า ตา หรือยายมีอาการโรคภูมิแพ้ชนิดใดชนิดหนึ่งร่วมอยู่ด้วย เมื่อวินิจฉัยโรคได้แล้วแพทย์จะประเมินความรุนแรงของโรคแล้วจึงให้การดูแลรักษาตามลำดับดังนี้

1. อธิบายเรื่องโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ให้ผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้ทราบว่า จุดอ่อนหรือความบกพร่องของผิวหนังเป็นลักษณะทางพันธุกรรมจะอยู่กับผู้ป่วยตลอดไป แต่ร่างกายของผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้โดยการให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นทาโลชั่นบำรุงผิวหนังอยู่เสมอๆ ตามสภาพอากาศ ไม่อาบน้ำอุ่นนาน ๆ เพราะน้ำอุ่นจะชะล้างไขมันที่ผิวหนังออกไป แพทย์สามารถควบคุมโรคได้ในช่วงที่ผิวหนังอักเสบ แต่การดูแลอาการต่าง ๆ ของโรคในระยะยาวต้องอาศัยผู้ป่วยและญาติที่ใกล้ชิดช่วยควบคุมและดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะทำให้โรคสงบหรือหายไปได้ในระยะยาว

2. แพทย์จะควบคุมอาการคันด้วย ยาแก้คัน (Anti-histamine) ต้องรับประทานยานี้ติดต่อกัน จนไม่มีอาการคันติดต่อกัน 7 วันจึงหยุดยาแก้คันได้ อาการคันอาจไม่หายไปหมดจากการรับประทานยาให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบหรือใช้ครีมเพิ่มความชุ่มชื้นชโลมผิวหนังจะช่วยลดอาการคันได้

3. ผิวหนังที่อักเสบแดงหรือเป็นขุยลอกให้ใช้ครีมสเตียรอยด์ความแรงระดับกลาง เช่น Triamcinolone acetonide 0.1% cream, Betamethasone 17-valerate cream ทาวันละ 2 ครั้งติดต่อกันนาน 7-14 วัน ถ้าผื่นผิวหนังอักเสบเป็นมากกระจายทั่วตัวหรือการอักเสบเป็นรุนแรงจนมีน้ำเหลืองออกมาอยู่บนผื่นผิวหนัง ในกรณีเช่นนี้ จำเป็นต้องใช้ยารับประทานสเตียรอยด์และใช้น้ำเกลือความเข้มข้น 0.9 % เช็ดน้ำเหลืองอย่าปล่อยให้น้ำเหลืองเยิ้มอยู่ที่ผิวหนังเพราะจะทำให้เกิดอาการคันและตุ่มแดงกระจายทั่วตัวที่ชาวบ้านเรียกว่า “น้ำเหลืองเสีย”

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับโรคผิวหนังอักเสบ ที่เราได้รวบรวมมาให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกัน ทุกคนน่าจะทราบดีอยู่แล้วว่าการเจ็บป่วยนั้นมันเป็นอะไรที่เลี่ยงกันได้ยาก แต่ถ้าหากเราไม่อยากจะเจ็บป่วยหรือเป็นโรคต่าง ๆ  ก็ต้องดูแลตัวเองให้ดี กินอาหารที่มีประโยชน์และที่สำคัญคืออย่าลืมออกกำลังกาย เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราแข็งแรงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ

บทความแนะนำ

เช็กให้ไว! 7 โรคที่อาจมาจากอาการปวดท้ายทอย

อาการคันเครา ความลำบากของผู้ชาย ที่มีวิธีแก้!!

You Might Also Like