กินน้อย แต่ยังอ้วนอยู่? เรามาหาคำตอบกัน!

สาว ๆ หลายคน คงเคยพบเจอกับปัญหา “กินน้อย แต่น้ำหนักเพิ่ม” บทความนี้คงทำให้ใครหลายคนเกิดข้อสงสัย? ว่าทำไม กินน้อย แต่ยังอ้วนอยู่ และเราเชื่อว่าสาว ๆ หลายคน คงเคยลองลดน้ำหนักมาหลากหลายวิธีแล้ว ทั้งนับจำนวนแคลอรี่ ยอมอดมื้อเย็น กินเพียงผักและผลไม้ งดแป้งและโปรตีน ทำตามวิธีการลดน้ำหนักมาก็มาก แต่ว่าน้ำหนักก็ไม่ลดสักที วันนี้เราจะพาคุณไปหาคำตอบกัน จะเป็นเพราะอะไรนั้น ตามไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

กินน้อย แต่ยังอ้วนอยู่? เรามาหาคำตอบกัน!

1. การกินน้อย ทำให้ระบบเผาผลาญพัง (Lower Your Metabolism)

การที่เรากินน้อยมาตั้งแต่เริ่มต้นของการลดน้ำหนัก มันจะส่งผลทำให้ระบบเผาผลาญพัง หรือการที่ระบบเมตาบอลิซึมทำงานช้าลงเรื่อย ๆ

จากการศึกษา นักวิจัยยังพบอีกนะครับว่า การกินน้อยเกินไป โดยเฉพาะการกินน้อยกว่า 1,000 แคลอรี่ต่อวัน อาจจะทำให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลงมากถึง 23% เลยทีเดียว

ไม่เพียงเท่านี้ ระบบเผาผลาญที่พังไป อาจจะต้องใช้เวลาแก้นานเหมือกัน ถึงแม้ว่าเราจะเลิกกินน้อยก็ตาม บางคนอาจจะใช้เวลาแก้แค่ 1-2 เดือน บางคนก็อาจจะต้องพยายามกันเป็นปีกันเลยนะคะ ถ้าเราสังเกตให้ดีจะเห็นว่า คนที่กินน้อย ๆ หรือไปเข้าคอร์สกินแค่อาหารเสริม จะสามารถลดน้ำหนักได้แค่ในช่วงแรกเท่านั้น พอกลับมากิน หรือเลิกเข้าคอร์สไป น้ำหนักก็จะดีดขึ้นมาเหมือนเดิม หรือมากกว่าเดิม ที่น่าตกใจ คือ งานวิจัยพบว่า กว่า 80% ของคนที่กินน้อยจนระบบเมตาบอลิซึมทำงานช้าลง จะมีโยโย่เอฟเฟ็กส์ตามมาค่ะ

หนึ่งเหตุผลที่การกินน้อยทำให้ระบบเผาผลาญพัง คือ มันจะทำให้ร่างกายเราสุญเสียมวลกล้ามเนื้อ การที่เราสูญเสียมวลกล้ามเนื้อจะเกิดขึ้นได้เร็วขึ้น ถ้าเรากินน้อยแล้วไม่ได้กินอาหารโปรตีนสูง ควรเลือกกินอาหารที่มีโปรตีนสูง ตั้งเป้าว่าควรกินโปรตีนให้ได้ประมาณ 1.5-2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และที่สำคัญ อย่าลืมว่าเราควรจะเล่นเวทเทรนนิ่งให้สม่ำเสมอด้วยนะคะ

กินน้อย แต่ยังอ้วนอยู่? เรามาหาคำตอบกัน!

2. กินแต่ผัก แต่กลับไม่ผอม

นอกจากพวกเรา ควรกินอาหารครบทุกมื้อแล้ว ขอกำชับอีกนิดด้วย ว่าควรกินให้หลากหลายด้วย ไม่ใช่กินเฉพาะผักผลไม้ โดยไม่แตะแป้ง โปรตีน หรือไขมันเลย  ตามที่เชื่อกันมา แต่ก็ต้องเข้าใจกันด้วยครับ ว่า กินผักผลไม้แล้วจะผอม 1-2 ปีแรกได้ แต่หากกินแบบนี้ไปนาน ๆ ขาดโปรตีน ขาดวิตามิน คือ วิตามินที่มีอยู่ในผักไม่ขาด จะไปขาดวิตามินที่อยู่ในโปรตีน และเมื่อกินแต่ผักผลไม้ ก็จะขาดพวกโปรตีนไขมัน สิ่งสำคัญสำหรับ คนเราหากว่าพอไม่กินไขมันโปรตีน สิ่งแรกที่จะฟ้องคือ ผิวพรรณเราครับ จะไปก่อนเลย ผอมก็จริง แต่สุขภาพไม่ดี ใช้ชีวิตกินลักษณะนี้ไปเรื่อย ๆ ก็จะมีปัญหาเรื่องโรคภูมิแพ้ แพ้โน่นแพ้นี่ได้ง่ายขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ ที่สำคัญ แก่เกินไวกันแน่นอนครับ ยกเว้นคุณจากเสริมโปรตีนจาก พืชกลุ่มอื่น ๆ เข้ามาแทน ได้บ้างนะคะ

จริงจะบอกว่า หลักการไม่ได้ยากอะไรมากนักครับ  คือแทนที่จะเลือกกินนี่ ไม่กินโน่น ควรไปเน้นการบริหารจัดการเรื่องความถี่และปริมาณอาหาร.ชนิดอาหาร .นี่คือหลักการลดน้ำหนักที่ถูกต้องครับ  “เพราะสุดท้ายแล้ว ต้องกินหลากหลาย  หลาย ๆอย่างที่มีผลดีต่อสุขภาพ”

3. ภาวะอ้วนจากฮอร์โมน
กินน้อย แต่ยังอ้วนอยู่? เรามาหาคำตอบกัน!

3. ภาวะอ้วนจากฮอร์โมน

ฮอร์โมนที่เป็นตัวกำหนดรูปร่าง ผอม หรือ อ้วน

  • ฮอร์โมนเลปติน (Leptin Hormone)

เป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ไขมัน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร คนที่มีไขมันส่วนเกินในร่างกาย มีโอกาสเผชิญกับภาวะต้านฮอร์โมนเลปติน ซึ่งสมองจะไม่ตอบสนองต่อเลปติน ภาวะต้านฮอร์โมนเลปตินสามารถรักษาได้ ด้วยการรับปรทานอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกาย

  • ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol Hormone)

คอร์ติซอล คือ ฮอร์โมนแห่งความเครียด ในวันที่เคร่งเครียดยุ่งเหยิง เรามักจะรู้สึกอยากกินของหวานเป็นพิเศษ นั้นเพราะต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมา เพื่อเตรียมพลังงานให้อยู่ในโหมดพร้อมสู้หรือถอยหนี ร่างกายของเราจึงต้องการแป้ง และน้ำตาลมากขึ้น นั้นหมายความว่า “ยิ่งเครียดมาก ยิ่งอ้วนมากขึ้น”

จากงานวิจัยพบว่า คนที่นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อย มีโอกาสอ้วนสูงกว่าคนที่นอนปกติ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เพราะฮอร์โมนคอร์ติซอลจะถูกหลั่งออกมามาก เนื่องจากร่างกายอยู่ในภาวะอ่อนแอ ถ้าไม่อยากอ้วน ต้องนอนหลับพักผ่อนให้อย่างเพียงพอจะช่วยได้

  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)

ผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป ระดับโปรเจสเตอโรนจะลดต่ำ ลง ทำให้สมดุลของเอสโตรเจนเสียไป เป็นสาเหตุให้ร่างกายเกิดการสะสมไขมัน โดยเฉพาะบริเวณกลางลำตัวจะอ้วนมาก ซึ่งปกติคนเราจะมีน้ำหนักขึ้นๆ ลงๆ ในระยะเวลา 1 ปี แต่คนที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเด่น น้ำหนักขึ้นแล้วไม่ลง และอยู่นานเกิน 1 ปี

ผู้ชายที่มีหน้าอกใหญ่ พุงใหญ่ อาจเป็นเพราะมีความผิดปกติของฮอร์โมนเอสโตรเจน มักพบในผู้ชายอายุ 40 ปีขึ้นไป

ถ้าคุณกินน้อยแต่อ้วน ควรไปพบแพทย์ เพื่อเจาะเลือดดูว่าระดับฮอร์โมนในร่างกายปกติหรือไม่ เพื่อการรักษา และควบคุมน้ำหนักอย่างถูกวิธีกันนะคะ

4. ออกกำลังกายมาก ทำให้ร่างกายบวม

 เมื่อก่อนเราคิดว่าออกกำลังกายเยอะ ก็เผาผลาญเยอะยิ่งดี แต่ตอนนี้พฤติกรรมคือ เล่นไม่ถูก และเล่นมากเกิน  ผิดท่าผิดทาง สิ่งที่เกิดคือ ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบ พอร่างกายอักเสบ ร่างกายก็จะบวม และชะลอการเผาผลาญ เพราะฉะนั้นกลายเป็นว่ายิ่งเล่น น้ำหนักยิ่งเพิ่มขึ้น มีคนเล่นหนักมากและแทบไม่ได้พัก บวกกลางคืนไม่ค่อยได้นอน ตอนเช้าก็กลับมาเล่นต่อ กล้ามเนื้อไม่ได้พักผ่อน ก่อให้เกิดการอักเสบ อย่างนี้ก็ถือว่าเกินความเหมาะสมพอดีไปค่ะ

การออกกำลังกายคือ การรักษาน้ำหนักที่ดีที่สุด แต่ลืมมองไปว่าถ้าในวันที่ตัวเองเครียดหรือพักผ่อนน้อย ก็ควรปรับการออกกำลังกายให้เหมาะกับร่างกายที่พักผ่อนน้อยด้วย เบาลง แต่มักโฟกัสว่ามาเล่นแล้ว ต้องเล่นให้หนัก เท่าเดิมที่เคยเล่นมา เล่นไม่หยุดพัก ตอนจบมันก็ล้ม ล้มก็คือ การเผาผลาญล้มทั้งระบบ ตอนนี้อะไรก็เกิดขึ้นได้ ไม่กินก็น้ำหนักขึ้นได้เลยค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับบทความที่เราได้นำมาฝากกันในวันนี้ คงทำให้ใครหลาย ๆ คน คลายข้อสงสัยกันไปได้แล้ว ว่าทำไมกินน้อยแล้ว แต่ยังอ้วนอยู่ นั้นอาจเป็นเพราะคุณลดน้ำหนักที่หักโหมจนเกินไป ส

่งผลให้ร่างกายของเราเกิดสัญชาตญาณการเอาชีวิตรอด จึงทำให้ระบบการเผาพลาญของเราพัง หรือบางคนอาจจะมีฮอร์โมนอ้วนอยู่ในตัว กรณีต้องเข้าพบแพทย์เพื่อการอดน้ำหนักได้อย่างถูกต้องกันนะคะ คราวนี้มาดู รู้จัก 12 หนุ่ม Treasure แห่งค่าย YG Entertainment

แนะนำบทความ : รวม 6 พันธุ์ผักที่นิยมปลูก และบริโภคในช่วงเทศกาล

You Might Also Like